ใครชอบกิน...แกงเหลือง+แกงเลียง+แกงป่า+แกงส้ม


สรุปจาก งานวิจัย 7,000 ชิ้น พบ ว่าแกงเหลือง ซึ่งเป็น ภูมิปัญญาของ ชาวภาคใต้ ตั้งแต่ปู่ย่า ตายาย สามารถทำให้เซลล์มะเร็งตายแบบธรรมชาติเพิ่มขึ้นอีก 15 เท่า

งาน นี้สรุปจากงาน วิจัย 7,000 ชิ้น ซึ่ง Research บาง เรื่องนานกว่า 10ปีและ ใช้เวลาสรุปอีก 5 ปี จาก 100,000 ตัวอย่าง...ใช้ เงินมหาศาลใน การวิจัย

ถ้า โครชอบกิน แกงเหลือง แกงเลียง แกงป่า แกงส้ม ( ของ ดี...ราคาถูก)ขอ แสดงความยินดี ด้วย...คุณ มีโอกาสเป็น มะเร็งน้อย มาก...


นัก วิชาการโลกฟัน ธงแล้ว ชนิดอาหารก่อมะเร็ง
อาหารก่อมะเร็ง, อาหาร, สุขภาพ, ร่างกาย, โรคภัย

' แกง เลียง ' ' แกง เหลือง ' ต้าน โรคได้
โรค ภัยที่คร่า ชีวิตประชากร ทั่วโลกมาเป็น อันดับหนึ่ง นั้นคือโรคหัวใจและหลอดเลือด โรคมะเร็งตามมาอยู่อันดับสอง หลายสิบปีมา แล้วที่วงการ แพทย์ทั่วโลก พยายามหาสาเหตุ ของโรคมะเร็ง แต่ละอวัยวะ เพื่อหาแนวทาง ป้องกันและ แก้ไข เพื่อสรุปให้ได้ข้อชัดเจนเสียทีว่าการบริโภคหรือระบบโภชนาการของมนุษย์โลก เป็นสาเหตุของ มะเร็งแต่ละ ชนิดได้แค่ไหน ล่าสุดหน่วยงาน เวิลด์ แคนเซอร์ รีเสิร์ช ฟัน ( World Cancer Research Fund) ร่วม กับ อเมริกัน อินสติติว ฟอร์ แคนเซอร์ รีเสิร์ช ( American Institue for Cancer Research) ได้ ตัดสินและสรุป งานวิจัยกว่า 7,000 เรื่อง ที่ศึกษาวิจัย ความสัมพันธ์ ของอาหาร การออกกำลังกาย ภาวะน้ำหนัก เกิน และความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็ง โดยผู้เชี่ยว ชาญจากทั่วโลก

ชนิ พรรณ บุตรยี่ นักวิชาการจากสถาบัน โภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้นำงานวิจัย นี้มาบรรยายใน งานประชุม เรื่อง
ความ ท้าทายทางพิษ วิทยาในศตวรรษ ที่ 21” ว่า งานวิจัยใช้ ระยะเวลาสรุปผล 5 ปี โดยนำงานวิจัยขนาดใหญ่ที่ใช้กลุ่มตัวอย่างมากสุด ถึง100,000 คน และบางชิ้นมีการเก็บข้อมูลนานนั10 ปี ใช้เงินทำวิจัยมหาศาล จึงจัดเ็นงาน วิจัยที่น่า เชื่อถือและยึด เป็นข้อมูลทาง วิชาการได้ ถือเป็นข้อบ่งชี้ที่แน่ชัดแล้ว โดยเน้นเรื่อง การกินและการ ออกกำลังกาย เป็นหลัก แบ่งเป็น 3 ระดับ

ข้อ สรุปลำดับแรก

เป็น ข้อบ่งชี้ที่ แน่นอน เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับอาหาร วิถีชีวิต การออกกำลังกาย สิ่งแวดล้อม โดยพบว่า
การ ดื่ม แอลกอฮอล์จะ เพิ่มความ เสี่ยงต่อการ เป็นมะเร็งเต้า นม ทั้งวัยหมดประจำเดือนและก่อนมีประจำเดือน มะเร็งช่องปาก คอหอย กล่องเสียง หลอดอาหาร ลำไส้ใหญ่และทวารหนัก (เฉพาะผู้ชาย) มี ไขมันในร่างกาย เกินจากค่า ดัชนีมวล กายหลังจากอายุ 21 ป ีไปแล้ว เพิ่มความเสี่ยงต่อมะเร็งเต้านม หลังหมดประจำ เดือน มะเร็งหลอดอาหาร มะเร็งตับอ่อน มะเร็งลำไส้ ใหญ่และทวาร หนัก มะเร็งไต และเนื้อเยื่อ บุมดลูก นอกจากระดับไขมันที่เป็นส่วนเกินแล้วยังแยกย่อยออกมาอีกว่า คนที่ อ้วนลงพุง มีความเสี่ยงสูงต่อมะเร็งลำไส้และทวารหนัก

สำหรับ อาหารที่คลาง แคลงใจกันมา นานพวกเนื้อ สัตว์ต่าง ๆ ในงานวิจัยนี้ฟันธงออกมาอย่างแน่ชัดแล้วว่าการ
บริโภค เนื้อแดง ไม่ว่าจะเป็นเนื้อวัว แกะ แพะ ในปริมาณที่สูงเกิน จะก่อมะเร็งลำ ไส้ มีคำแนะนำให้บริโภคเพียงสัปดาห์ละ ครึ่งกิโลกรัม ควรหันมาบริโภค เนื้อสีขาว อย่างเนื้อไก่ หมู หรือปลา รวมท ั้งเนื้อสัตว์ที่ผ่านกระบวนการปรุงแต่ง ไม่ว่าจะเป็นไส้กรอก แฮม เบคอน อาหารเหล่านี้ ต้อง รมควัน บางครั้งต้อง ปรุงรส ใช้เคมีเพื่อให้สี รสชาติและมวล ของอาหารอยู่ ครบ เป็น อาหาร ที่กินแล้วก่อมะเร็งเช่นกัน ที่น่าตกใจพบ ว่าการ บริโภคเบ ต้าแคโรทีน ในรูปแบบอาหารเสริม จะเร่งให้เกิด มะเร็ง แต่ เบต้าแคโรทีนจะให้ผลต่อร่างกายสูงสุดเมื่อ บริโภคผักผลไม้ สด ๆ ที่มีสารเหล่านี้ ประเภทผลไม้สี เหลือง เช่น มะละกอ มะม่วง แครอท

ขณะ เดียวกันเมื่อ มนุษย์ขึ้นสู่ วัยหนุ่มสาว
ออกกำลัง กายแบบแอโรบิก ที่ทำให้หัวใจ สูบฉีดเลือด อย่างสม่ำเสมอ วันละ 30 นาที จนเข้ าสู่วัยผู้สูงอายุ จะช่วยป้องกัน มะเร็งลำไส้ ใหญ่และทวาร หนัก มะเร็งเต้านม (โดยเฉพาะหญิงวัยหมดประจำเดือน) และมะเร็งเนื้อ เยื่อบุมดลูก นอก จากนี้ผลวิจัย เป็นที่แน่นอน แล้วว่า แม่ควรให้นมลูกและเด็กทารกควรที่จะได้รับน้ำนมแม่ สามารถ ลดความเสี่ยงของมะเร็งเต้านมทั้งก่อนและหลังหมดประจำเดือน ทั้งนี้ควรให้ นมแม่อย่าง เดียวตั้งแต่ แรกคลอดจนถึง 6 เดือน โดยไม่มีการให้ อาหาร หรือเครื่องดื่มใด ๆ เลย รวมทั้งน้ำด้วย


อาหารก่อมะเร็ง, อาหาร, สุขภาพ, ร่างกาย, โรคภัย

ข้อ สรุปลำดับสอง

เรียก ว่าป็นที่แน่ นอนบ่งชัดเจน หากเทียบเป็นเปอร์เซ็นต์ในข้อนี80 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่ในข้อแรก เชื่อได้ 90 เปอร์ เซ็นต์ ในข้อนี้เน้นหนักด้านอาหาร พบว่า การ บริโภคผักใบ ลดความเสี่ยงมะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งช่องปาก คอหอย กล่องเสียง หลอดอาหาร ผัก กลุ่มหอม ป้องกันมะเร็ง กระเพาะอาหาร การบริโภคผลไม้ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งปอด ช่องปาก คอหอย กล่องเสียง มะเร็งหลอดอาหาร

ลำดับ ที่
3
ลด หลั่นเป็น เปอร์เซ็นต์ลง มาภายใต้ เงื่อนไขเดียว กันคือความ สัมพันธ์ของ อาหาร วิถีชีวิต ในข้อนี้เรียกว่ามีความเป็นไปได้พบว่าการบริโภคอาหาร ที่มีไลโคปีน ซึ่งมีมากใน มะเขือเทศ ลดความเสี่ยงต่อมะเร็งต่อมลูกหมาก


นัก วิชาการคนเดิม จากสถาบัน โภชนาการ ม.มหดิล บอกอีกว่า แม้สารไลโคปีนจะมีมากในมะเขือเทศ แต่ถ้าไม่ทำให้ มะเขือป่น ละเอียด บริโภคไปร่างกายก็ไม่ได้รับสารไลโคปีนอยู่ดี ดังนั้น
การ บริโภคมะเขือ เทศสด แบบชิ้น ๆ กับการบริโภคซอสมะเขือเทศอย่างหลังได้รับ ไลโคปีนมากกว่า นอก จากในงานวิจัย เรื่องการ บริโภค ผลิตภัณฑ์เสริม อาหารเพื่อ ป้องกันมะเร็ง นักวิชาการทั่ว โลกแนะนำว่าไม่ ควรบริโภคผลิต ภัณฑ์เสริม อาหารเพื่อ ป้องกันมะเร็ง เว้นแต่เจ็บ ป่วยหรือมีภาวะ ขาดสารอาหาร บางอย่าง

ปัจจุบัน พฤติกรรมการกิน อาหารของคนไทย เปลี่ยนไปโดย เฉพาะกลุ่มเด็ก และคนวัยหนุ่ม สาวบริโภคเนื้อ สัตว์มากขึ้น ที่เห็นได้ชัดจากวัฒน ธรรมการกิน อาหารบุฟเฟ่ต์ ร้านเนื้อย่าง หมูกระทะต่าง ๆ สอดคล้องกับงาน วิจัยนี้ ข้อแนะนำของการกินเพื่อต้านมะเร็งในแบบไทย ซึ่งแม้งาน วิจัยยังไม่ได้ ถูกเลือกจากนัก วิชาการ เพราะเป็นงานวิจัยขนาดเล็ก ตามอัตภาพของ ทุนที่มี แต่น่าชื่อถือและนำไปใช้ได้


ใน งานประชุมดัง กล่าวข้างต้น ดร.สมศรี เจริญเกียรติกุล นักวิชาการจาก สถาบันเดียวกัน ได้เผยแพร่ผล การศึกษาเรื่อง
ศักยภาพ ต้านมะเร็งของ ตำรับอาหารไทย

ดร.สม ศรี กล่าวว่า ได้ศึกษาเรื่องนำสมุนไพรต่างชนิดมาทำเป็นน้ำพริกแกงต่าง ๆ ได้ทดลองสารสกัดของน้ำพริกแกง
4 ชนิด ได้แก่
-
น้ำพริก แกงป่า
-
แกง เลียง
-
แกง ส้ม
-
แกง เหลือง และ
-
น้ำ ต้มยำ
นำมา เลี้ยงเซลล์ มะเร็งเม็ด เลือดขาว พบว่า
น้ำแกง ป่า น้ำแกงเลียง และน้ำแกงส้มมีศักยภาพให้เซลล์มะเร็งตายแบธรรมชาติ ที่ ไม่ส่งผลกระทบ ต่อเซลล์อื่นใน ร่างกาย ได้มากถึง 45 เปอร์เซ็นต์ ขณะ ที่ แกง เหลืองทำให้ เซลล์มะเร็งตาย แบบธรรมชาติ เพิ่มขึ้นอีก 15 เท่า เมื่อ เทียบกัน ดีกว่าการใช้ยาถึง 2 เท่า สมุนไพรสำคัญใน เครื่องแกงน่า จะมา จากกระเทียมและ พริกรวมทั้ง สมุนไพรอื่น ๆ

จาก งานวิจัยนี้ สรุปได้ว่าการบ ริโภค อาหารที่เป็นสำรับแบบไทย อาทิ แกงเลียงกุ้งสด ห่อหมกใบยอ ไก่ผัดเม็ดมะม่วง ข้าวสวย หรือ สำรับ ข้าวเหนียว ส้มตำใส่ แครอท ไก่ทอดสมุนไพร ต้มยำ จะมีส่วนช่วยลดความเสี่ยงต่อมะเร็ง


สอด รับกับงานวิจัย ระดับโลกที่ว่า อาหารการกิน เป็นส่วนหนึ่ง ที่ทำให้คนห่าง ไกลมะเร็งได้ อยู่.


อ้างอิงอีเมล์

angel so cute dearaun1@hotmail.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น