โทษของ เตาไมโครเวฟ

เห็นคนไทยใช้ microwave มากๆ ก้แปลกใจ ทำไม เตาไมโครเวฟ จึงมีโทษ และหากมีโทษ...ทำไมรัฐบาลจึงไม่ห้าม การวางขายในตลาด และมีการเปรียบเทียบอย่างหนึ่ง อาจอธิบายปรากฏการณ์นี้ ได้ กล่าวคือ หากคุณวางกบตัวหนึ่งลงในกระทะที่กำ ลังตั้งไฟร้อนๆ กบจะกระโดด หนีออกจากกระทะทันที แต่ถ้าใช้เทียนไขค่อยๆ ลนกระทะใบนั้น ให้ร้อนขึ้น เรื่อยๆ ตอนเริ่มต้นกบจะยังไม่รู้สึกถึงความร้อน แต่พอเริ่มรู้สึกและอยาก กระโดดหนี ขาก็จะโดนละลายติดกับกระทะ จนหนีไม่พ้น

ปัจจุบันเตาไมโครเวฟ ก็เหมือนเทียนไขเล่มนั้น คนที่ใช้ก็เหมือนกบตัวนั้น

กว่าจะรู้ตัวว่า ถูกละลายติดหนับ ก็อาจสิบ หรือยี่สิบปี ผ่านไปแล้ว

แต่จะช้าหรือเร็ว ต้องถูกยึดติดขาไว้แน่...
ใน การให้เลือดของโรงพยาบาล ต้องเอาเลือดที่นำออกจากตู้เย็น ไปอุ่นให้ ร้อนเสียก่อน ก่อนที่จะฉีดให้คนไข้ เคยมีนางพยาบาลที่ต้องการประหยัด เวลา ใช้เตาไมโครเวฟช่วยอุ่นอุณหภูมิของโลหิตนั้น ปรากฏว่า พอฉีดเข้าในร่าง กายผู้ป่วย ทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตทันที จึงเป็นที่มาของกฎข้อห้ามที่เข้มงวด ในโรงพยาบาลทุกโรงพยาบาล ห้ามใช้เตาไมโครเวฟอุ่นโลหิตอย่างเด็ดขาด ตั้งแต่ นั้นมา

บนฉลากขวดนมสำหรับเลี้ยงทารก ก็มีการระบุอย่างชัดเจนว่า ห้ามใช้เตา ไมโครเวฟต้มน้ำให้เดือด เนื่องจากคลื่นไมโครเวฟจะไปทำลายสารอาหารที่มี ประโยชน์ทั้งหมด

ผลร้ายที่เกิดเนื่องจากไมโครเวฟนี้ มีรายงานมากมายที่ทำในประเทศรัส เซีย เยอรมนี และสวิตเซอร์แลนด์ แต่มีน้อยมากที่ทำในสหรัฐอเมริกา เนื่องจาก การวิจัยในสหรัฐส่วนใหญ่ จะต้องเกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ทางการค้า มิฉะนั้น จะไม่ค่อยมีคนทำตาม

รายงานในรัสเซีย เยอรมนี และสวิส พบว่าคลื่นไมโครเวฟ จะทำให้คลื่นสมอง ลดลง สมองเสื่อม ทำให้คลื่นสมองมีความยาวคลื่นสั้นลง ในไมโครเวฟนอกจากจะ เป็นสารก่อมะเร็งแล้ว ยังเป็นสารตกค้างที่ร่างกายขจัดไม่ได้ คลื่นในระยะ ยาวจะทำให้ฮอร์โมนเพศลดลง และเปลี่ยนแปลงทำลายเกลือแร่ต่างๆ ในผัก เปลี่ยน เป็นอนุมูลอิสระที่เป็นโทษต่อร่างกาย ยังมีคลื่นอื่นๆ อีกหลายตัวในไมโครเวฟ ที่ล้วนทำให้สารบำรุงในอาหารเปลี่ยนไป และแปรสภาพเป็นสารก่อมะเร็ง

การรับประทานอาหารที่ปรุงโดยไมโครเวฟนานๆ จะทำให้ร่างกายสะสมสารก่อ มะเร็ง เป็นจำนวนมาก เนื่องจากสารบำรุงในอาหารถูกทำลาย ก็จะทำให้ร่างกายขาด สารอาหาร ทำให้ร่างกายอ่อนแอ การรับประทานอาหารแบบนี้ในระยะยาวจะทำให้ความ จำเสื่อม ขาดพลัง

ทางที่ดี...หากเป็นไปได้ ใช้ให้น้อยที่สุด...

ข้อมูลจากหนังสือ การก่อเกิดของโรคภัยไข้เจ็บและการป้องกัน เขียนโดย ดร. หงซานเปิ่น (ศาสตราจารย์ด้านโภชนาการ มหาวิทยาลัยสิงคโปร์)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น