มุมมอง "ความเป็นผู้นำ" ของธนินท์ เจียรวนนท์

ขออนุญาตแชร์ความรู้ จากบทความนี้ อ่านแล้วได้มุมมองหลายเรื่องครับ-ถนัด



มุมมอง ความเป็นผู้นำของธนินท์ เจียรวนนท์

เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2553 สถาบันวิทยาการตลาดทุน (วตท.) รุ่น 10 ได้เชิญธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานกรรมการและประธานคณะผู้บริหาร เครือเจริญโภคภัณฑ์ มาบรรยายความเป็นผู้นำในทัศนะของตัวแทนภาคธุรกิจเอกชน" (LPR 1022 Leadership Point of View) ซึ่งในฐานะเป็นนักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จอย่างสูง เมื่อพูดเรื่องภาวะความเป็นผู้นำแล้ว ผู้บริหารทุกคนต้องสดับตรับฟัง

ธนินท์ เล่าว่าเครือเจริญโภคภัณฑ์จะให้ความสำคัญกับ คนเก่งโดยได้ตั้งคุณสมบัติของคนเก่งไว้ว่า ทำ จริงรู้จริง มีความรับผิดชอบสูง ขยัน ทุ่มเทและพยายาม ใจกว้าง ให้ก่อน เสียสละ ยอมเสียเปรียบ คิดถึงประโยชน์ของคนอื่นก่อน รู้จักให้อภัย รู้จักตอบแทนบุญคุณ

ธนินท์ บอกว่า ถ้าคนที่ไม่รู้จักตอบแทนบุญคุณ เก่งอย่างไร เราหมดตัวแน่ ยิ่งเก่งเรายิ่งหมดตัวนอกจากนี้คนเก่งจะต้องรู้จักแบ่งเวลา ใช้เวลาให้เป็นประโยชน์ เคารพผู้บังคับบัญชาและให้เกียรติ ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา รู้จักประชาสัมพันธ์ รู้จักใช้และรู้จักรักษาคนเก่ง รู้จักศึกษาจุดเด่นของคนอื่น รู้จักศึกษาจุดเด่นและจุดด้อยของผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา

แต่ถ้าเป็นผู้บังคับบัญชา ไม่ต้องไปศึกษาจุดด้อยเขา หากเรานับถือเขา อ่อนน้อมต่อเขา เขาก็ต้องรักเรา ถ้าเราไม่นับถือเขาดูถูกเขา เขาจะสนับสนุนเราได้อย่างไร ดังนั้นไม่ต้องไปสนใจจุดด้อยของผู้บังคับบัญชา แต่สำหรับผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาจำเป็นต้องศึกษาทั้งสองด้านทั้งจุดแข็งและจุดด้อย เพื่อจะได้นับถือกันและกัน รักกันและกัน แต่ที่เราต้องรู้จุดด้อยเขา เพื่อที่จะได้ไม่ใช้เขาผิดทาง

นอกจากนี้ ธนินท์ให้ความสำคัญกับคำว่าการใช้คนนั่นคือ รักษาคนยังง่ายกว่าการสร้างคน เหมือนกับใช้เงินเป็น รักษาเงิน แต่สร้างเงินไม่เป็น ดังนั้นต้องทำทั้ง 3 สิ่งคือ ต้องใช้ รักษา และสร้างคนเก่ง คนเก่งสำคัญที่สุด คือ เขาต้องการโอกาส เราต้องให้โอกาส ให้อำนาจ ให้เกียรติ ให้เงินเดือนไม่ได้ด้อยกว่าเถ้าแก่ในสังคม ถ้าเพื่อนร่วมงานผมขับรถรุ่นพิเศษกว่าผม ผมจะดีใจ

ธนินท์ เล่าต่อไปว่าผู้นำที่มีความคิดอิจฉาลูกน้องแสดงว่ามีจิตใจคับแคบถ้าผู้ใต้บังคับบัญชามีเกียรติ เรายิ่งมีเกียรติกว่าอีก คนเขาจะพูดว่านายธนินท์นี่ประหยัด เท่ากับเขาชมเชยเรา เขาไม่ได้ดูถูกเรา อย่าไปเข้าใจผิด ดังนั้นคุณต้องคิดให้ถูกต้องด้วย

เขาแชร์ประสบการณ์ในฐานะผู้นำต่อไปว่า ก่อนที่จะมอบงานให้ คนเก่งต้องเคลียร์พื้นที่ให้เสร็จก่อน ไม่ใช่ปล่อยให้ไปกวาดขยะ ไปแก้ปัญหาความเก่งมันไม่ได้แสดงและต้องให้เขาเลือกทีมงานของเขาด้วย ถ้าบริษัทนี้มีปัญหา แล้วจะให้เขาไปทำงาน เราต้องช่วยเขาเคลียร์ก่อน แล้วบอกเขาว่าคุณจะเอาคนไหนอยู่ก็ ให้เขาอยู่ เราไม่ไล่เขาออก เรารับมาอยู่ส่วนกลางก่อน ไม่ใช่ว่า เราจะให้เขาไปแก้ปัญหา แล้วเราส่งคนที่งานไม่เดิน ไม่เข้าใจ ไม่เป็นคู่ขากัน แล้วงานมันจะสำเร็จได้อย่างไร

นอกจากนี้ ต้องพยามส่งเสริมผู้นำด้วย ยกตัวอย่างเช่น เครือเจริญโภคภัณฑ์จะส่งคนไปดูงานทั่วโลก ไปศึกษาเทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อให้ก้าวทัน เพื่อไม่ให้ล้าสมัย คุณต้องกล้าใช้เงินกับเรื่องเหล่านี้ เพราะสำคัญมากยิ่งกว่าการลงทุน ถ้าไม่ทำคนของเราจะไปช้ากว่าคนอื่นๆ เพราะโลกทุกวันนี้เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ผมต้องบังคับเรื่องงบประมาณดูงานต่างประเทศ ผมให้เต็มที่

ธนินท์ เล่าต่อไปว่าไม่สามารถไปดูงานคนเดียวได้ เพราะกลับมาและมาพูดกับผู้ใต้บังคับบัญชาก็ไม่เข้าใจ ที่สำคัญไม่ใช่ให้แค่ประธานกรรมการ หรือผู้จัดการ รองผู้จัดการไปดูงานเท่านั้น แต่ต้องลงไปอีก 2-3 ขั้นไปดูงานด้วย ผมจะถามเลยว่า เที่ยวนี้คุณจะไปกับคนที่อายุเท่าไหร่ ไม่ใช่ 50 ปีกว่า คุณต้องมี 40 ปี 30 ปีไปด้วยกัน เพราะการสร้างคนต้องมี 3 ระดับไปดู และยิ่งผมอายุมากขึ้น ผมยิ่งต้องใช้คนหนุ่มสาว เราถึงจะได้ความรู้ใหม่ๆ จากพวกเขา ถ้าเราเอาคนรุ่นราวคราวเดียวกันไป ความคิดก็เท่าๆ กัน ความรู้ใหม่ๆ ก็ไม่มี

จากประสบการณ์ของธนินท์ คือ ต้องให้ทีมงานมองแบบเดียวกันไม่ ใช่ประธานเห็นอยู่คนเดียว ไม่ได้ แต่ต้องให้ทั้งทีมเห็นเหมือนกัน ธุรกิจใหม่ๆ ของใหม่ ถึงจะขับเคลื่อนได้ นี่คือวิธีที่บริษัทใช้ปฏิบัติมา

สำหรับการสร้างผู้นำ ล่าสุดเครือเจริญโภคภัณฑ์กำลังจะสร้างโรงเรียน โดยใช้อาจารย์ที่ช่วยแจ็ค เวลล์ แห่งจีอี แคปปิตอล มาสร้างหลักสูตรในโลกนี้มีไม่กี่บริษัทที่สร้างโรงเรียนที่ทันสมัยเพื่อสร้างผู้นำ ผมเลยเลือกอาจารย์ที่ช่วยแจ็ค เวลล์ ออกหลักสูตรทั้งหมดเพื่อสร้างคนเก่ง สร้างผู้บริหาร

โดยเครือเจริญโภคภัณฑ์ จะไปสร้างโรงเรียนผู้นำ ที่เขาใหญ่ อ.ปากช่อง เพื่อยกระดับความรู้ให้ทันสมัย ซึ่งจะมีผู้ที่กำลังไต่เต้าเป็นผู้นำเข้ามาเรียนมากถึง 4,000 คน โดยมีอาจารย์ของแจ็ค เวลล์เป็นผู้ควบคุมดูแล เขาจะสัมผัสกับ 4,000 คน และจะให้คน 4,000 คนนี้พูด แล้วเขาก็จะมาฟังทั้งหมด เขายอมใช้เวลา 20 เปอร์เซ็นต์ของเวลาทั้งหมดอยู่กับโรงเรียนนี้ แล้วเขาก็จะรู้เลยว่าใครโดดเด่น เก่งอะไร และระหว่างคนที่เรียนก็จะรู้ว่าต่างคนต่างเก่งอะไร แล้วก็ต่างคนต่างก็ไปปฏิบัติธนินท์ กล่าว

โดยผู้เข้าเรียน จะเป็นพนักงานมาจากธุรกิจเครือเจริญโภคภัณฑ์ รวมทั้งเกษตรกร มีคนที่รู้เรื่องเทคโนโลยี คนที่ชำนาญเรื่องการค้าระหว่างประเทศ แล้วมาสลับสับเปลี่ยนความรู้ระหว่างกัน นี่เป็นวิธีของแจ็ค เวลล์ เพราะเขาก็มีธุรกิจตั้งแต่หลอดไฟ ไปจนถึงเครื่องยนต์ของเครื่องบิน เครื่องบินรบ เคมีภัณฑ์ อุปกรณ์การแพทย์ ผลลัพธ์ จีอีจึงไม่ธรรมดา

โดยธนินท์ได้ไปศึกษาเกี่ยวกับโรงเรียนสอนผู้นำที่ก่อตั้งโดยธุรกิจชั้นนำระดับโลก ทั้งของโบว์อิ้ง ซัมซุงธุรกิจระดับโลกจะต้องมีโรงเรียนสร้างผู้นำของพวกเขาโดยเฉพาะ ผมว่าถ้าพวกเราทำแล้ว ก็เป็นหน้าเป็นตาเหมือนกันว่าทำแล้วในระดับเอเชีย และก็เป็นหน้าเป็นตาของโลก เพราะพนักงานของเจริญโภคภัณฑ์ทั้งโลกราวๆ 2 แสนกว่าคน

บางคนว่าผมไปหาหมอดู ดูโหงวเฮ้ง ไม่ไหวครับ อาจารย์กี่คนก็ดูไม่เสร็จ ต้องใช้วิธีที่ทันสมัยแล้ว นั่นคือ ต้องเลียนแบบแจ็ค เวลล์ โบวอิ้ง หรือซัมซุงธนินท์ ทิ้งท้าย


2 ความคิดเห็น:

  1. อยากให้ผู้บังคับบัญชานำหลักแนวคิดของท่านธนินท์ ไปใช้ในการปกครองผู้ใต้บังคับบัญชา

    ตอบลบ
  2. ไม่ระบุชื่อ31 พฤษภาคม 2555 เวลา 11:36

    สุดยอดครับ ท่านคือบุคลตัวอย่าง เป็นแบบอย่างที่ดีมากมาย

    ตอบลบ