ถูกชมคือธรรมดา ถูก ด่าก็ไม่เลว โดย ท่าน ว.วชิรเมธี ผู้อำนวยการสถาบันวิมุตตยาลัย



ถูกชมคือธรรมดา ถูกด่าก็ไม่เลว
 โดย ท่าน ว.วชิรเมธี ผู้อำนวยการสถาบันวิมุตตยาลัย

หลายคนคงเคยได้ยินคำกล่าว“จิตเป็นนาย กายเป็นบ่าว” กันมาบ้างแล้ว
คำกล่าวนี้ สะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญของจิ
หรืออีกนัยหนึ่งของความคิดได้เป็นอย่างดีว่า
จิตกำหนดวัตถุ หรือกายเป็นไปตามอำนาจของจิต
ผู้รู้ท่านหนึ่งเคยกล่าวถึงความสำคัญของจิต หรือความคิดไว้ว่า

“เธอจงระวังความคิด เพราะความคิดจะกลายเป็นการกระทำ
เธอจงระวังการกระทำ เพราะการกระทำจะกลายเป็นนิสัย
เธอจงระวังนิสัย เพราะนิสัยจะกลายเป็นบุคลิก
เธอจงระวังบุคลิก เพราะบุคลิกจะกำหนดชะตากรรมของเธอ”

ชีวิตของเราจะเป็นอย่างไร ขึ้นอยู่กับว่า
เรามีความคิดหรือวิธีคิดอย่างไร
ในทางพุทธศาสนานั้น ท่านให้ความสำคัญกับวิธีคิดเป็นอันมาก
พระนักปราชญ์ท่านหนึ่งได้ประมวลวิธีคิดในพุทธศาสนาไว้ว่ามีมากกว่า ๑๐ วิธี

วิธีคิดอย่างหนึ่ง ซึ่งเราควรนำมาปรับใช้ในชีวิตก็คือ วิธีคิดเชิงบวก

วิธีคิดเชิงบวก หมายถึง การรู้จักเปลี่ยนมุมมองที่เรามีต่อสิ่งต่างๆ
ซึ่งโดยมากมักแสดงตัวให้เราได้สัมผัสในแง่ลบ
แต่พอเราพลิกมุมมองใหม่ เราจะได้อะไรดีๆ จากเรื่องลบๆ เหล่านั้น
เช่น ในชีวิตจริงของผู้เขียนซึ่งทำงานกับคนหมู่มาก
มักจะพบกับคำชมและคำด่าอยู่เสมอ ๆ


เมื่อแรกเผชิญกับคำชม ผู้เขียนก็ฟู   ครั้นพบกับคำด่าก็แฟบ
แต่เมื่อเรียนรู้ที่จะปรับเปลี่ยนมุมมองต่อคำชมและคำด่า
ก็รู้สึกว่า ได้คุณค่าจากคำด่าคำชมเป็นอันมาก

คำชมนั้น สำหรับคนที่ไม่คิดอะไรมาก
ดูเหมือนว่า ไม่ลำบากใจเลยที่จะน้อมรับ
แต่สำหรับผู้เขียนแล้ว คำชมนั่นแหละคืออันตรายยิ่งกว่าคำด่า
เพราะหากเรารู้ไม่ทัน คำชมจะทำให้เราหลงตัวเองและมีโอกาสลืมตัวสูง
ส่วนคำด่า ถ้าพิจารณาไม่ดีก็ทำให้เราเสียศูนย์ได้ง่ายๆ
แต่หากพิจารณาอย่างลึกซึ้งด้วยวิธีคิดแบบมองโลกในแง่ดี
บางทีคำด่ากลับมีค่ามากกว่าคำชม

Error! Filename not specified.คำด่ามีค่ามากอย่างไร ?

(๑)คำด่า คือ กระจกเงาสะท้อนความบกพร่องของงานที่เราทำ

(๒)คำด่า มักแฝงคำแนะนำมาด้วยเสมอ

(๓)คำด่า บอกเราว่า สิ่งที่เราทำอยู่นั้น
หากมีคนที่คิดไม่เหมือนเราเขามองดูอยู่
เขาเห็นอะไรในสิ่งที่เรามองไม่เห็นบ้าง

(๔)คำด่า คือ กระดาษทรายอย่างดี
ที่คอยขัดสีฉวีวรรณให้เรามีความกลมกล่อมลงตัว
เหมือนพระประธานที่ต้องถูกกระดาษทราย ขัดสีฉวีวรรณจนผุดผ่อง

(๕)คำด่า ทำให้เราไม่ประมาทผลีผลาม
ทำอะไรด้วยความเชื่อมั่นมากเกินไป

(๖)คำด่า ทำให้รู้ว่า มีคนรักหรือเกลียดเรามากน้อยแค่ไหน

(๗)คำด่า ทำให้รู้ว่า อย่างน้อยก็มีคนสนใจในสิ่งที่เราทำ
หรืออย่างน้อย สิ่งที่เราทำมันกำลังส่งผลอย่างใดอย่างหนึ่ง
จึงมีคนอุทิศตนมาสนใจและด่าอย่างเป็นงานเป็นการ

(๘)คำด่า จะทำให้เราได้หันกลับมาดูภูมิธรรมของตนเองว่า
เข้มแข็งมากน้อยแค่ไหน เมื่อทุกข์กระทบแล้วธรรมกระเทือน
หรือกิเลสกระเทือน ถ้า ธรรมกระเทือนแสดงว่าเราฝึกตนเองมาดี
แต่ถ้ากิเลสกระเทือนแสดงว่า
ต้องกลับไปฝึกจิตตัวเองใหม่ให้เข้มแข็งกว่านี้

(๙)คำด่า ทำให้เราได้รู้ว่า ในโลกนี้ไม่มีใครหนีโลกธรรม ๘ ได้
(ได้ลาภ เสื่อมลาภ, ได้ยศ เสื่อมยศ, สรรเสริญ นินทา, สุข ทุกข์)

(๑๐)คำด่า คือ บทเรียนเรื่องการปล่อยวางตัวกูหรืออัตตาที่ดีที่สุด
เพราะหากเรายังปล่อยวางตัวกูไม่ได้ เราก็จะต้องหาวิธีด่าคืนอยู่ไม่สิ้นสุด
 

อ้างอิงจากอีเมล์  jatapana@hotmail.com

เงินทองเป็นของคุณก็จริง แต่ทรัพยากรนั้นเป็นสมบัติของสังคมส่วนรวม


เยอรมันเป็นประเทศซึ่งพัฒนาอุตสาหกรรมไปไกลแล้ว ประเทศนี้ เป็นผู้ผลิตสินค้าชั้นนำอย่างเช่น เบนซ์ บีเอ็มดับเบิลยู ซีเมนส์ เป็นต้น ปั๊มพ์ที่ใช้ในเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ผลิตขึ้น
ในเมืองเล็กๆแห่งหนึ่งของประเทศนี้  ในประเทศซึ่งมีการพัฒนาไปไกลเช่นนี้ คนส่วนใหญ่คงคิดว่า ประชาชนชาวเยอรมันจะใช้ชีวิตที่หรูหรา อย่างน้อย
นั่นเป็นความรู้สึกของผมก่อนเดินทางไปศึกษาดูงานที่นั่น 

เมื่อผมเดินทางถึงแฮมเบิร์ก เพื่อนร่วมชาติซึ่งทำงานอยู่ที่นั่นจัดให้มีการเลี้ยงต้อนรับผมที่ภัตตาคาร ขณะที่เราเดินเข้าไปในภัตตาคาร เราพบว่าโต๊ะจำนวนมากว่างอยู่
มีโต๊ะหนึ่งมีหนุ่มสาวคู่หนึ่งกำลังนั่งกินอาหารกันอยู่ บนโต๊ะของทั้งคู่ มีอาหารอยู่เพียงสองจาน และเบียร์อีกสองกระป๋อง ผมคิดสงสัยอยู่ในใจ ว่าอาหารมื้อง่ายๆอย่างนี้
จะทำให้เกิดบรรยากาศโรแมนติคขึ้นได้อย่างไร และสาวน้อยคนนี้ คงจะเลิกคบกับไอ้หนุ่มขี้เหนียวคนนั้นหรือไม่ 

มีหญิงสาวสูงอายุอีกสองสามคนนั่งอยู่อีกโต๊ะหนึ่ง เมื่อคนเสิร์ฟนำอาหารมาบริการ เขาจะทำการแบ่งอาหารให้กับหญิงสาวเหล่านั้น และ ทุกคนจะกินอาหารจนหมดสิ้น
ไม่มีเศษเหลืออยู่บนจานให้เห็น 

พวกเราไม่ได้ให้ความสนใจกับหญิงสาวเหล่านั้นมากนัก เพราะเรากำลังนั่งรออาหารซึ่งได้สั่งไปแล้ว เพื่อนคนนั้น สั่งอาหารไว้หลายจาน เพราะเราต่างกำลังหิว

อาหารเสิร์ฟออกมาได้เร็ว คงเป็นเพราะภัตตาคารมีแขกน้อย เราใช้เวลาในการกินอาหารเย็นมื้อนั้นไม่นาน ทั้งนี้เพราะเรายังมีกิจกรรมอื่นรออยู่ ขณะที่เราลุกออกจากโต๊ะ
ยังมีอาหารซึ่งกินไม่หมดเหลืออยู่อีกราวหนึ่งในสามส่วน ขณะที่พวกเรากำลังเดินออกจากภัตาคาร เราได้ยินเสียงใครเรียกพวกเราอยู่ เราสังเกตุเห็นว่า
หญิงสาวสูงอายุกำลังพูดกับเจ้าของภัตาคารเกี่ยวกับพวกเรา เมื่อพวกเขาเริ่มพูดกับเราเป็นภาษาอังกฤษ เราจึงเข้าใจว่า
พวกเขาต่างไม่พอใจที่พวกเราทิ้งอาหารไว้มากเช่นนั้น เรารู้สึกในทันทีว่า พวกเขา เข้ามายุ่มย่ามเกินกว่าเหตุ 

“ พวกเราจ่ายค่าอาหารแล้ว มันไม่ใช่ธุระของพวกคุณ ว่าเรากินอาหารไม่หมดแล้วเหลืออยู่เท่าไร ” เพื่อนของเราคนหนึ่งชื่อ กุย ( Gui) บอกกับหญิงสูงอายุเหล่านั้น 

หญิงสาวเหล่านั้นรู้สึกโกรธขึ้นมาทันที คนหนึ่งในนั้นหยิบโทรศัพท์มือถือขึ้นมา แล้วต่อสายเพื่อพูดกับใครบางคน ไม่นานหลังจากนั้น ชายในชุดยูนิฟอร์มก็มาถึง 

โดยแสดงตัวว่าเขาเป็นเจ้าหน้าที่จากองค์การสวัสดิการสังคม ( Social Security organization) ภายหลังจากฟังความจนเข้าใจว่า มีเรื่องอะไรเกิดขึ้น 

เขาก็สั่งปรับพวกเราเป็นเิน 50 มาร์ค พวกเราทุกคนต่างเงียบกริบ  เพื่อนซึ่งอยู่ในเมืองนี้หยิบเงิน 50 มาร์คส่งให้ไป พร้อมกับกล่าวขอโทษขอโพยต่อเจ้าหน้าที่หลายครั้ง. 

เจ้าหน้าที่ผู้นั้นกล่าวกับเรา ด้วยน้ำเสียงที่เข้มงวดว่า “ สั่งอาหารเท่าที่พวกคุณจะสามารถกินได้หมด เงินทองอาจจะเป็นของคุณ แต่ทรัพยากรนั้นเป็นสมบัติส่วนรวม 
มีคนอีกจำนวนมากในโลกนี้ ที่ยังขาดแคลนทรัพยากร พวกคุณไม่มีเหตุผล ที่จะใช้ทรัพยากรอย่างทิ้งๆขว้างๆ ” 

สีหน้าพวกเราเปลี่ยนเป็นสีแดง พวกเราเห็นด้วยกับคำพูดของเขาหมดทั้งหัวใจ ทัศนคติของผู้คนในประเทศร่ำรวยแห่งนี้ทำให้พวกเรารู้สึกละอาย 

เราต้องทบทวนพิจารณาตัวเองกันจริงๆในประเด็นนี้ พวกเรามาจากประเทศซึ่งมีทรัพยากรไม่อุดมสมบูรณ์นัก  เพื่อรักษาหน้าตาตัวเอง 

เราจึงสั่งอาหารมามากๆ และพวกเราัก็สั่งกันจนเหลือในยามที่เลี้ยงผู้อื่น บทเรียนนี้ สอนเราให้คิดอย่างจริงจังเพื่อที่จะปรับเปลี่ยนนิสัยไม่ดีเหล่านี้เสีย

เพื่อนของผมถ่ายสำเนาใบเสร็จค่าปรับนั้น และมอบให้กับพวกเราแต่ละคน ทุกคน พวกเราทุกครับเก็บไว้ และแปะไว้ข้างฝา เพื่อเตือนใจเราว่า เราจะต้องไม่ทำตัวเป็นคนสิ้นเปลืองอีกอย่างเด็ดขาด 



อ้างอิงจาก duangporn_itt@yahoo.co.th

King of the Kings (บทความ ดร.วิษณุ เครืองาม)



 
 ในฐานะที่ทำงานอยู่ในทำเนียบรัฐบาลโดยหน้าที่ต่างๆกันถึง 15   ปี ผมขอยืนยันว่าพระองค์ทรงมีมาตรฐานเดียวโดยตลอด จะต่างกันก็ที่โอกาส เช่น คณะรัฐมนตรีบางคณะเข้ามาในช่วงที่ทรงพระประชวร บางคณะมีราชการงานเมืองต้องเข้าเฝ้าฯ ขอ พระราชทานมหากรุณาบ่อยหรือห่างตามเหตุการณ์
         ในการมีพระราชดำริ พระราชดำรัส และการทรงงานใดๆ ไม่มีเลยสักเรื่องที่จะแสดงว่าทรงรับเอาประโยชน์ส่วนพระองค์แม้พสกนิกรจะเต็มใจถวาย 
         สมัย จอมพลถนอมเป็นนายกฯ คราวหนึ่งประจวบโอกาสครองราชย์ครอบ 25 ปี (พ.ศ. 2514) รัฐบาลจะสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์และถาวรวัตถุใหญ่โต “ ที่สุดในประเทศ ” ถวาย รับสั่งว่า 
สิ้นเปลืองและไม่เป็นประโยชน์แก่ประชาชน สร้างถนนกันรถติดดีกว่า”  นี่คือที่มาของถนนรัชดาภิเษก 
         สมัยคุณ บรรหารเป็นนายกฯ เคยกราบบังคมทูลว่า จะสร้างทาวเวอร์หรือหอคอยสูงใหญ่ข้างสะพานพระราม 9 ใช้เป็นหอดูวิว หอโทรคมนาคม และเฉลิมพระเกียรติ รับสั่งว่า เทคโนโลยีสมัยนี้ไม่ต้องสร้างหอโทรคมนาคมและเปลืองเงินเปล่าๆ  
         นายกฯคนหนึ่งเคยกราบบังคมทูลถามว่า   ที่ พระอนุสาวรีย์กรมหลวงชุมพรฯ หน้าทำเนียบรัฐบาลนั้น ตอนพลบค่ำคนมักมาจุดประทัดแก้บน  บางทีก็ยิง ปืนสนั่นหวั่นไหว ดังรบกวนมาถึงสวนจิตรฯ หรือไม่ รับสั่งว่าอยู่ที่หลักการว่าทำอย่างนั้นผิดกฎหมายไหม ถ้าผิดก็ต้องห้าม แต่ถ้าเป็นเสรีภาพก็ต้องปล่อยไป รำคาญหนวกหูก็ต้องทน อย่าใช้มาตรฐานสวนจิตรฯ หรือทำเนียบรัฐบาลมาตัดสิน 
 
         สมัยนายกฯทักษิณ เคยกราบบังคมทูลว่า
           เมื่อประทับรักษาพระองค์ที่วังไกลกังวลอย่างนี้ รัฐบาลจะขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้สำนักพระราชวังปรับปรุงวังไกลกังวล ให้สะดวกสบายสมกับที่จะใช้เป็นที่ประทับยาวนาน รวมทั้งจะปรับปรุงโรงพยาบาลหัวหินให้ทันสมัยพร้อมทุกประการ
           รับ สั่งว่า  การปรับปรุงโรงพยาบาลเป็นประโยชน์แก่ทุกคนถ้ามีงบก็ควรทำ แต่การปรับปรุงวังไกลกังวลเป็นเรื่องพระสำราญ “ แค่นี้ก็พออยู่พอเพียงแล้ว ” 
           รัฐบาลหลายคณะ เคยออกกฎหมายที่มุ่งจะเฉลิมพระเกียรติเช่นมีคำว่า “ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ”
           มี พระราชกระแสให้รัฐบาลนำกลับไปปรับปรุงเพราะ   “ ไม่อาจทรงสถาปนาพระองค์เองได้ ”  เช่นเดียวกับที่ใน พ.ศ. 2512   ไม่ทรงลงพระปรมาภิไธย ในร่างพระราชบัญญัติยศทหารซึ่งถวายพระยศ ทางทหารเป็น จอมพล จนร่างพระราชบัญญัตินั้นตกไปเองในที่สุด 
         รัชกาล นี้ทรงลงพระปรมาภิไธยตรากฎหมายมาแล้ว ทั้งที่เป็นพระราชบัญญัติ พระราชกำหนด พระราชกฤษฎีกานับหมื่นฉบับ ทรงวินิจฉัยฎีกานักโทษ ฎีการ้องทุกข์ขอพระราชทานความเป็นธรรมอีกหลายพันราย บางรายขอพระราชทานยืมเงิน บางรายขอความเป็นธรรมเรื่องแต่งตั้งโยกย้าย
         ราย หนึ่งพ่อตาย ลูกชายบวชหน้าไฟให้พ่อ อยู่มาก็ไม่ยอมสึก แม่มีลูกชายคนเดียวทำหนังสือถวายฎีกาว่าเดือดร้อนหนัก ขอพระมหากรุณาให้ลูกสึกมาช่วยเลี้ยงแม่เถิด โปรดให้ตรวจสอบแล้วมีพระราชกระแสว่า แท้จริงแม่ไม่ได้อยากให้ลูกสึก แต่ปัญหาคือแม่ลำบากยากจน จึงโปรดให้กรมประชาสงเคราะห์เข้าไปช่วยดูแล สอนอาชีพให้และหาเครื่องมือทำมาหากินไปให้แม่ ลงท้ายแม่ก็ทำมาหากินได้ ส่วนลูกก็อยู่ไปจนเป็นสมภาร
         พระ บาทสมเด็จพระ เจ้าอยู่หัวฯ ทรงสงเคราะห์ทั้งส่วนรวมและพระองค์เองเพื่อจะได้มีพระอนามัยดี ทรงงานเพื่อส่วนรวมต่อไป จึงทรงดนตรี ทรงพระราชนิพนธ์หนังสือ ทรงเล่นคอมพิวเตอร์ ทรงฉายภาพ ทรงกีฬา ทรงวาดรูป ปั้นรูป ทรงงานไม้งานช่าง จะทรงจับงานด้านใดก็ทรงทำได้ดี
         ที่คนไม่ใคร่ทราบคือ ทรงสนพระราชหฤทัยเป็นพิเศษในเรื่องภาษาไทย การศึกษา ระบบสิ่งแวดล้อม การสาธารณสุข และพุทธศาสนา ส่วนที่ทรงพระปรีชาทางดิน น้ำ ระบบระบายน้ำ และการแก้ปัญหาจราจรนั้นเป็นที่ทราบทั่วไปอยู่แล้ว
         เมื่อครั้งยังเป็นเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ผมเคยได้รับพระมหากรุณาพระราชทานคำแนะนำเรื่องการใช้ถ้อยคำภาษาไทยหลายหน  
           ครั้งหนึ่งได้ถวาย “ รายชื่อ ” บุคคลให้ทรงแต่งตั้ง รับสั่งถามว่า ตั้งกี่คน ผมกราบบังคมทูลว่าคนเดียว ตรัสว่าคนเดียวเรียกว่า “ ชื่อ ” ถ้า “ ราย ชื่อ ” ต้องหลายคน 
           อีกคราวหนึ่ง มีหนังสือกราบบังคมทูลว่า   “ ทูลเกล้าทูลกระหม่อมมาเพื่อทรงพิจารณา ” ทรงพระสรวลตรัสว่า “ ถ้าทูลเกล้าทูลกระหม่อมก็อยู่บน กระหม่อมยังไม่ถึงฉัน ถ้าจะให้ถึงฉัน ต้องทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายมาเพื่อทรงพิจารณา ”
         ในทางพระพุทธศาสนาก็ปรากฎว่าทรงรอบรู้ทั้งในทางปฎิบัติและปริยัติ ทรงรู้จักพระเป็นอันมาก เมื่อตรัสถึงเหตุการณ์ครั้งใดจะทรงย้อนไปถึงเรื่องราวครั้งเก่าก่อน เช่น   “ ครั้งสมเด็จพระสังฆราชยังเป็นพระญาณวราภรณ์ ” “ ครั้นเจ้าคุณประยุทธยังเป็นพระราชวรมุนี ”  
           และเคยตรัสเล่าเรื่องราวความเป็นอัคร ศาสนูปถัมภก ว่า ต้องทรงอุปถัมภ์ และคุ้มครองทุกศาสนา โดยไม่เลือกปฎิบัติ ทรงเล่าพระราชทานว่า ครั้งหนึ่งควีนจากประเทศหนึ่งทูลถามว่า พุทธศาสนาไม่มีพระเจ้าแล้วชาวพุทธนับถืออะไรกัน เหตุใดไม่ยกพระพุทธเจ้าเป็น god เสียเลย
           ได้ทรงตอบว่า พุทธศาสนานับถือ “ ธรรม ” เรานับถือธรรมยิ่งกว่าพระพุทธเจ้าเสียอีก เพราะธรรมเป็นเครื่องคุ้มครองโลก และได้ตรัสเล่าต่อไปว่า แม้ศาสนาอื่นก็ยังต้องทรงอุปถัมภ์ ฉะนั้นในฝ่ายพุทธศาสนาขอให้ทุกคนวางใจเถิดว่า จะเป็น เถรวาท มหายาน รามัญนิกาย มหานิกาย ธรรมยุต ก็ต้องทรงคุ้มครองและพระราชทานความเป็นธรรมเสมอกัน 
         รัชกาลที่ นั้น อะไรที่ไม่เคยมีและไม่มีคนไทยคนใดนึกว่าชีวิตนี้จะมี แต่ก็ทรงบันดาลหรือวางรากฐานให้มีขึ้นเป็นขึ้นทั่วถ้วน เช่น โรงเรียน โรงพยาบาล รถไฟ ไปรษณีย์ เลิกทาส จนคนรุ่นก่อนหน้านั้นต้องคิดว่าเหลือเชื่อ 
           แต่ รัชกาลที่ นั้น   อะไรที่ควรจะมี ควรจะคิดออก ควรจะทำเป็นนานแล้ว แต่ผู้มีอำนาจหน้าที่ไม่ใคร่คิดไม่ใคร่ทำ ก็ทรงบันดาลหรือวางรากฐานให้มีให้เป็นขึ้น
 เช่น เขื่อน ฝาย ประตูระบายน้ำ  ถนน สะพาน  การสงเคราะห์คนเป็นโรคเรื้อน คนประสบภัยธรรมชาติ การแก้ปัญหาจราจร การเพิ่มผลผลิตการเกษตร  การแก้ปัญหาความยากจน  ปัญหาพลังงาน 
         สมัยผมเป็นเลขาธิการ ครม.   ต้องทูลเกล้าฯถวายเอกสารใส่ซองขนาดใหญ่สีขาว เพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย รับสั่งต่อไป หน้าซองไม่ต้องเขียนเลขที่หนังสือ จะได้หมุนเวียนกลับลงมาใช้หลายหน ไม่ต้องทิ้งแม้แต่เรืองเล็กๆ ก็ควรประหยัด  เวลาร่างกฎหมายโปรดให้ถวายปะหน้าแผ่น เผื่อว่าทรงลงพระปรมาภิไธยแล้วหมึกซึมเลอะ จะได้ประหยัดเวลาไม่ต้องรอถวายใหม่ เวลาตั้งรัฐมนตรีใหม่จะต้องเข้า เฝ้าฯ ถวายสัตย์ปฎิญาณ จะตรัสว่าให้รีบมาจะได้รีบไปทำงานไม่ต้องห่วงว่าติดเสาร์อาทิตย์ประเทศไทยพระเจ้าแผ่นดินไม่มีวันหยุดราชการ 
           พระมหากรุณาธิคุณปานนี้จะหาได้จากที่ไหนอีก เจ้าประคุณเอ๋ย! 
         ปี 2538    สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีสวรรคต ลองคิดดูว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ จะทรงวิปโยคขนาดไหน เสด็จไปทรงสดับพระพิธีธรรมที่พระที่นั่งดุสิตฯ ทุกราตรี แต่ทราบกันบ้างหรือไม่ว่าพอพระสวดจบ เสด็จลงมาประทับที่พระที่นั่งราชกรัณยสภาใกล้ๆกัน พระราชทานคำแนะนำการแก้ปัญหาจราจรแทบทุกคืน
           ปี 2553 อยู่ระหว่างประชวรประทับในโรงพยาบาล พระราชกรณียกิจอื่นภายนอกโรงพยาบาลทรงงดเสียเกือบสิ้น แต่การเสด็จไปเปิดประตูระบายน้ำคลองลัดโพธิ์ ทอดพระเนตรโครงการแก้ปัญหาน้ำท่วมและเปิดสะพานระบายการจราจรเพื่อพสกนิกรของ พระองค์ เป็นเรื่องที่ทรงถือเป็นกิจสำคัญ 
         พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงเป็นยอดแห่งผู้อดทน   อดกลั้น ในการประกอบพระราชกรณียกิจนั้นย่อมมีทั้งร้อนทั้งหนาวยาวนานและน่าเหนื่อย หนัก ดูเอาจากการพระราชทานปริญญาบัตรเถิด แม้แต่ที่ต้องทรงอดกลั้นด้วยขันติบารมีในคำจ้วงจาบหรือระคายเคืองเบื้องพระ ยุคลบาทอีกไม่รู้เท่าไร  อย่าลืมว่า พระชนมพรรษา   83   แล้ว ทรงงานมา 64 ปีแล้ว 
         ดะไลลามะเคยพูดว่า “ใครอย่ามาชมตัวท่านเลยว่าเป็นยอดคน ไปดูที่พระเจ้าแผ่นดินเมืองไทยเถิด 
 
           ผม เคยไปเฝ้าฯ เจ้าชายจิกมี กษัตริย์หนุ่มแห่งภูฎาน ตรัสว่ากษัตริย์ของท่านเป็นแบบอย่างของข้าพเจ้าในการจะครองราชย์ให้คนรัก ”
 
           สุลต่านบรูไนที่ เป็นผู้แทนกษัตริย์   25   ประเทศ ถวายพระพรในคราวฉลองการครองราชย์สมบัติครบ 60 ปี เมื่อ พ.ศ. 2549   เคยทูลว่าการครองราชย์นานถึง 60 ปีเป็นเพียงตัวเลข สำคัญอยู่ที่ว่า 60 ปีนั้นได้ทำอะไร 
         “ เป็นที่ประจักษ์แล้วว่า ฝ่าพระบาททรงทำทุกอย่างตลอด 60 ปี ให้เป็นประโยชน์ต่อชาวไทย ชาวเอเซีย และชาวโลก วาระนี้จึงทรงเป็นความภาคภูมิใจของบรรดาพระราชามหากษัตริย์ทั้งปวงโดยทั่ว กัน ” 

 
         เมื่อวันเฉลิมพระชนมพรรษาปี 2552 มีพระราชดำรัสตอนหนึ่งว่า  
 
       “ความสุขความสวัสดีของ พระองค์จะมีได้ก็ด้วยการที่บ้านเมืองมีความเรียบร้อย
 
 
           พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ พระองค์นี้มีแต่ทรงให้พวกเรามาตลอด
 แต่พระราชดำรัสนี้มีนัยเป็นทั้งสิ่งที่ “ ทรงหวัง ”   “ ทรงบอกให้รู้ ” และ ” ทรงขอ ”   ซึ่งน่าจะทรงประสงค์ยิ่งกว่าคำถวายพระพร   “ทรงพระเจริญ ” 
         ไหนว่า ธ ประสงค์ใด จงสฤษดิ์ดังหวังวรหฤทัย 
 แล้ว เรื่องอย่างนี้เราคนไทยจะพร้อมใจกันจัดถวายได้ไหมครับ 



อ้างอิง ได้รับอีเมล์จาก Oh Saowaluck oh-sao77@hotmail.com